sondmk header
LARAVEL
Laravel : 001 How to Install Or Create Project By Composer

Post by Goborijung at 2021-03-26 09:27:03 | ID: 668

>> Create Project
composer create-project --prefer-dist laravel/laravel blog

>> Start Server
php artisan serve

Laravel : คู่มือ Laravel By โคชเอก

Post by Goborijung at 2021-03-17 09:25:30 | ID: 674

https://drive.google.com/file/d/1SSMH054UMf-PmX7614s67jzclfrx9Za5/view?usp=sharing

Last Page : 16

Laravel : เครื่องมือ ที่ใช้ในการพัฒนา Web ด้วย Laravel Framework

Post by Goborijung at 2021-03-17 10:22:39 | ID: 448

>> เครื่องมือพื้นฐาน
1. XAMPP ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.apachefriends.org/download.html
2. Composer ดาวน์โหลดได้ที่ https://getcomposer.org/download/
3. NodeJS ดาวน์โหลดได้ที่ https://nodejs.org/en/download/ 
4. ATOM ดาวน์โหลดได้ที่ https://atom.io/
- VSCode : https://code.visualstudio.com/
(จะรันคำสั่ง npm ได้ จะต้องติดตั้ง nodejs ก่อนนะจ๊ะ)

>> ตรวจสอบ Version
composer --version
node --version
npm --version
php --version

> Laravel Document 
https://laravel.com/

> Link สอน Laravel Youtube
https://www.youtube.com/watch?v=dpFJOa1KKeg&list=PLEE74DyIkwEnDRHQjHaJyV4K1TsMPkbiV
https://www.youtube.com/watch?v=_NCJxlnaD4U

Laravel : Video สอน Laravel 7.x

Post by Goborijung at 2021-03-26 09:26:16 | ID: 1058

https://itthipat.me/video_category/laravel/page/2/

Laravel : การทำ Route แบบกำหนด Methods

Post by Goborijung at 2021-03-26 11:32:53 | ID: 672

Ref: https://www.itoffside.com/laravel-ep5-routing/

Routing methods คือหนึ่งอย่างที่ Laravel มีความพิเศษ เพราะว่าเราสามารถกำหนด HTTP Verb ได้เช่นเราอยากให้ routing นี้เป็น GET, POST, PUT, DELETE แบบง่ายๆเลย ลองดูตัวอย่าง

Route::get($uri, $callback);
Route::post($uri, $callback);
Route::put($uri, $callback);
Route::patch($uri, $callback);
Route::delete($uri, $callback);
Route::options($uri, $callback);

ผมจะยกตัวอย่างการใช้งาน HTTP Verb ประเภท POST
ในหน้า view ผมเขียน form จะเป็นแบบนี้

<form method="POST" action="/product">
    @csrf
    ...
</form>
โปรดระวังหากเรา request ไม่ตรง verb จะเกิด error ทันที

Laravel : การทำ Route แบบมี Parameters

Post by Goborijung at 2021-03-26 14:08:53 | ID: 671

ref: https://www.itoffside.com/laravel-ep5-routing/
ในบางครั้งในเว็บ เราจำเป็นต้องมีค่า parameter ส่งไปทาง url เช่น itoffside.com/product/1234 จะเห็นว่า parameter 1234 นั้นเป็นค่าที่อาจจะเป็นค่าอื่นได้เช่นกันเช่น 5678 สำหรับ Routing laravel ก็มีวิธีการส่งค่าเหมือนกัน เรามาดู code กันว่าเขียนแบบไหนใน routes/web.php เขียนต่อจากอันเดิมเป็น

Route::get('product/{id}', 'HomeController@product');

จะเห็นว่าเรามีการส่ง parameter {id} ไปด้วย (ชื่ออาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็น id เอาตามความเข้าใจของเรา) โดย parameter ต้องคลุมด้วย {} เสมอ

แล้วเราก็ไปเขียน code ใน HomeController เพิ่มในบรรทัดที่ 14-17

<?php
  namespace AppHttpControllers;
  use IlluminateHttpRequest;
  class HomeController extends Controller
  {
   public function index()
   {
     return view('welcome');
   }

   public function Product($productID)
   {
     echo "ProductID is ".$productID;
   }
  }
?>

จาก code หมายถึงเรา สร้าง function product แล้วรับ parameter ที่ routing ส่งมาให้เรา ลองมาดูผลลัพท์ของ code กัน
จะเห็นว่าผม request url เป็น product/1234 แล้วใน controller ผมสั่งให้ แสดง parameter 1234 ก็เลยได้ผลลัพท์ตามรูปภาพด้านบน

ตัวอย่างการเขียน Route แบบมี Parameter

Route::get('/users/{name}', function($name){ echo "<h1>Hello $name</h1>"; }); ตัวอย่างาการเรียกใช้งาน http://127.0.0.1:8000/users/kanom จะได้ Hello kanom -------------------------------------------------- // ตัวอย่างการส่งค่า 2 ตัวแปร Route::get('/users/{fname}/{lname}', function($fname,$lname){ echo "<h1>Hello $fname $lname</h1>"; });

Laravel : การทำ Route โดยการจัดกลุ่ม Routing Groups prefix

Post by Goborijung at 2021-03-26 11:33:59 | ID: 673

Ref: https://www.itoffside.com/laravel-ep5-routing/

เป็นการจัดกลุ่ม routing โดยอ้างอิงชื่อ prefix ที่เราไม่จำเป็นต้องมาสร้างชื่อซ้ำๆเดิม ยกตัวอย่างเช่นคุณมี Routing 

Route::get('product/{id}', 'productController@show');
Route::post('product', 'productController@store');
Route::put('product/{id}', 'productController@update');
Route::delete('product/{id}', 'productController@destroy');

จะเห็นว่าชื่อ product เรียงกัน ซึ่งเราสามารถจัดเป็นกลุ่มของ prefix “product” ได้โดยเขียนคำสั่งนี้ไป

Route::prefix('product')->group(function () {
    Route::get('{id}', 'productController@show');
    Route::post('', 'productController@store');
    Route::put('{id}', 'productController@update');
    Route::delete('{id}', 'productController@destroy');
});

สรุป
Routing ใน Laravel นั้นจำเป็นอย่างมาก เพราะ ทุก Request เราต้องควบคุมผ่าน Routing นี้โดย Routing ของ laravel ไม่ได้ Generate อัตโนมัติเหมือน Codeigniter ที่มีรูปแบบ project/controller/methods/{id} ที่เขียนง่าย เริ่มต้นได้ง่าย แต่สำหรับ laravel เราต้องมากำหนด routing เอง ซึ่งตอนแรกอาจจะคิดว่าลำบาก ยาก แต่หากได้ใช้ไปสักพักแล้วมันเป็นอะไรที่ง่ายและสะดวก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพราะหากเราเข้าใจแล้ว เราจะสามรถเขียนเว็บ/ระบบ ได้ดังใจเราต้องการ

Laravel : การทำ Route ใน Laravel แบบธรรมดาปกติ

Post by Goborijung at 2021-03-26 11:31:19 | ID: 670

>> Basic Routing
https://www.itoffside.com/laravel-ep5-routing/

เส้นทางการร้องขอทั้งหมดของระบบ Laravel จะถูกผ่านมาที่ routes/web.php

>> ตัวอย่าง

Route::get('/', function () {
    return view('welcome');
});

Route::get('/about', function () {
    echo "สวัสดีครับผม";
});

หมายความว่าเมื่อ request มาหน้าแรก แล้วให้ แสดง view welcome (อยู่ที่ resources/views/welcome.blade.php) จะเห็นได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องโยนให้ Controller ก็สามารถทำงานได้เหมือนกัน 
แต่ที่เราให้ routing โยนให้ Controller ทำงานเพราะ Code จะได้เป็นระเบียบเรียบร้อย

ส่วนหากเราต้องการให้ Routing แล้วโยนให้ Controller ทำงานต่อนั้น ทำได้โดยแบบด้านล่างนี้ครับ
Route::get('/', 'HomeController@index');
ความหมายคือเมื่อ request มาหน้าแรก แล้วสั่งให้ Controller ชื่อ HomeController และ Function index() ทำงานครับ เราลองมาสร้าง Controller กันครับ สามารถสร้างได้ 2 แบบคือ

1. สร้างเอง โดยเข้าไปสร้างไฟล์ที่ app/Http/Controllers/HomeController.php
2. ใช้ Command line Artisan สร้าง โดยให้เราเปิด Command line ในโปรเจ็คของเราก่อนหากใครทำไม่เป็นให้ดูบทความที่ 2 https://www.itoffside.com/laravel-ep2-install/ เมื่อเราเปิด command line แล้วให้พิมพ์คำสั่ง
php artisan make:controller HomeController
แล้ว artisan จะสร้าง controller ไว้ที่ app/Http/Controllers ให้เราเลยครับ ง่ายๆไหมครับ
3. สร้าง function index ใน HomeController

<?php
  namespace AppHttpControllers;
  use IlluminateHttpRequest;
  class HomeController extends Controller
  {
   public function index()
   {
     return view('welcome');
   }
  }
?>

เพียงเท่านี้ครับสำหรับการให้ Routing โยนให้ Controller ทำงานต่อแล้ว Controller ก็จะทำงานตามที่เราเขียน code ไว้


>> ตัวอย่าง Route

Route::get('/', function () {
    return view('welcome');
});

Route::get('/about', function () {
    echo "สวัสดีครับผม";
});

Laravel : การใช้คำสั่งของ php artisan

Post by Goborijung at 2021-03-26 11:18:12 | ID: 1060

คำสั่งที่ใช้ในการรัน PHP
php artisan serve

คำสั่งในการดู Route ทั้งหมดที่มีอยู่
php artisan route:list

Laravel : ขั้นตอนการ Upload Laravel ขึ้น Web Host

Post by Goborijung at 2021-03-17 09:25:06 | ID: 449

1. สร้าง Folder ชื่อ Laravel ในเว็บโฮสให้อยู่ในระดับเดียวกันกับ public_html
2. Upload ไฟล์ทั้งหมดของ Laravel จากเครื่องเราเข้าไปยัง Folder Laravel ที่เราเพิ่งสร้างไปเมื่อกี้ ยกเว้น Folder ที่ชื่อ public
3. Upload file ที่อยู่ใน public ของเครื่องเราไปไว้ใน Folder public_html หรือ สร้าง sub folder ย่อย เช่น lvl  แล้วก็โยนไฟล์เข้าไปซะ
4. เข้าไปแก้ไขไฟล์ index.php ที่อยู่ใน lvl ให้เรียกใช้ Path Laravel ที่อยู่ในระดับเดียวกันกับ public_html ดังนี้

> ของเดิม
require __DIR__.'/laravel/vendor/autoload.php';
$app = require_once __DIR__.'/laravel/bootstrap/app.php';

> แก้ใหม่เป็น
require __DIR__.'/../../laravel/vendor/autoload.php';
$app = require_once __DIR__.'/../../laravel/bootstrap/app.php';

** โดยการออกมา 2 Directory คือ ../../ = public_html/lvl/ เป็นต้น

เวลาเรียกใช้ ก็ให้เรียกเป็น www.domain.com/lvl/


>> สรูป 1. สร้าง Folder ให้อยู่ในระดับเดียวกันกับ Public_html ตัวอย่างเช่น Laravel 2. Upload Files ทั้งหมดที่อยู่ใน Project เข้าไปไว้ที่ Folder Laravel ::: ยกเว้น Folder public ::: 3. สร้างมาอีก Folder ตั้งชื่อ app แล้วทำการ Upload Files ที่อยู่ใน public ทั้งหมดไปไว้ใน Folder app 4. แก้ไขไฟล์ index.php ที่อยู่ใน Folder app เปลี่ยน Part ให้ถูกต้องดังนี้ > ของเดิม require __DIR__.'/laravel/vendor/autoload.php'; $app = require_once __DIR__.'/laravel/bootstrap/app.php'; > แก้ใหม่เป็น require __DIR__.'/../laravel/vendor/autoload.php'; $app = require_once __DIR__.'/../laravel/bootstrap/app.php'; >> การเรียกใช้ ให้เข้าเรียกใช้ได้ที่ Link : http://domain.com/app/ เป็นอันเสร็จเรียบร้อยจ้าาาา....

12>>>

Framework

Library


เครื่องมือพัฒนาเว็บ



การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์


Download SourceCode



copyAllright © 2016 soundmk.com