บทที่ 1 มารู้จัก Laravel กันเถอะ
Laravel เป็น PHP Framework ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนโค้ดในแบบเดียวกัน ปัจจุบัน พัฒนาถึงเวอร์ชั่น 5.7 กันแล้วครับ
ข้ออดี ของ Laravel
1.) มี security ที่ดี พอสมควร ควบคุมได้ง่าย และสามารถควบคุมเป็นชั้นๆ อย่างละเอียด ในวิธีที่แสนง่าย
2.) มีโฟลเดอร์ที่วางเป็นระเบียบแบ่งสัดส่วนอย่างชัดเจนตั้งแต่ติดตั้ง
3.) รองรับ Bootstrap 4 , react ฯลฯ ที่ใช้ในการแสดงผล
4.) เพื่อนๆร่วมทีมสามารถแก้โค้ดเราได้ง่ายกว่าการเขียนเอง เพราะเขียนใน pattern เดียวกัน
5.) มีคู่มือในการใช้งานอย่างชัดเจน https://laravel.com/docs/5.7
6.) มีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยอัตโนมัติ
ข้อเสีย ของ Laravel
1.) อาจจะเข้าใจได้ยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยเขียน เชิง MVC หรือ OOP
2.) ต้องอาศัยจินตนาการเพิ่มมากขึ้นเพราะมีการเชื่อมโยงกันอยู่หลายไฟล์
cradit: http://www.comscicafe.com/article/244/laravel-57-lesson-01#.XP8YSJIzatE
บทที่ 2 เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเขียน Laravel
ด้านของโปรแกรมที่ต้องติดตั้งครับ
1.) Sever จำลอง ตัวใดก็ได้ ในที่นี้ แนะนำให้ใช้ Xampp
ลิงค์โหลด https://www.apachefriends.org/download.html (PHP ต้องเป็น Version >= 7.1.3 เท่านั้น )
2.) Text Editor ที่ใช้ในการเขียนโค้ด แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนเลยครับ ในที่นี้เราจะใช้ Vs code
ลิงค์โหลด https://code.visualstudio.com/
3.) Composer เพื่อใช้จัดการกับ Dependency
ลิงค์โหลด https://getcomposer.org/
4.) Node.js
ลิงค์โหลด https://nodejs.org/en/
cradit: http://www.comscicafe.com/article/247/laravel-57-lesson-02#.XP8dU5IzatE
บทที่ 3 ติดตั้ง Laravel
ขั้นตอนแรกให้เปิด Command Prompt ขึ้นมาครับ จากนั้นให้เราเข้าไปที่โฟลเดอร์ htdocs ของเรา แล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงไปใน Command Prompt ครับ
composer create-project --prefer-dist laravel/laravel [=ชื่อโปรเจ็ค]
จากนั้นกด Enter แล้วรอมันโหลด Directory สักครู่หนึ่ง...
เมื่อขึ้นตัวสีเขียวว่า Application key set uccessfully. แสดงว่าเราเราติดตั้งโปรเจ็ตของเราสำเร็จแล้ว
ต่อมาเราลองมัน Run ดูกันครับว่าหน้าตามันจะเป็นอย่างไร
เข้ามาที่ Browser พิมพ์ localhost/projectname/public
ถ้าขึ้นหน้าเว็บ Laravel ก็แสดงว่าติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ
cradit: http://www.comscicafe.com/article/249/laravel-57-lesson-03#.XQC74ZIzatE
บทที่ 4 การตั้งค่า Timezone
เปิดไฟล์ config/app.php แล้วแก้ไขค่า timezone จาก UTC เป็น Asia/Bangkok
ต่อมาเราจะทำการ Test กันว่าเวลาได้ถูก Set ให้ตั้งค่าตรงกับประเทศไทยหรือยัง ให้เข้ามาที่ Folder resources/views/welcome.blade.php
ถ้าตรงแสดงว่าเรามาถูกทางแล้วนะครับ
cradit: http://www.comscicafe.com/article/251/laravel-57-lesson-04#.XQC9zpIzatE
บทที่ 5 Route ใน Laravel
Route คือ class ที่ใช้จัดการกับเส้นทาง เข้า-ออก ของเว็บไซต์เรา พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ เป็นตัวกำหนด Path
ว่า Path นี้ให้ทำงานที่ Controller ไหน หรือ แสดง View ไหน รวมถึงสามารถระบุการส่ง Parameter ผ่านเจ้าตัว Route ได้ด้วย
อับดับแรกนะครับ ให้ทำการเข้าไปที่ Folder : routes
จากนั้นให้ไปที่ file web.php เพื่อจัดการกับ Route บนเว็บของเรากันครับ
จากนั้นจะเห็น Route ที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่แรกอยู่แล้ว การทำงานของ Route ตัวนี้คือ '/'
หาก เข้ามาที่ Path http:://localhost/foldername/public ก็จะถูกส่งไปทำงาน ที่ view ที่มีชื่อว่า welcome
ซึ่ง view welcome ก็ถูก จัดเก็บอยู่ใน Folder : resource/views
จากนั้นให้เราทดสอบโดยการ สร้าง File ใน Folder : resource/views และตั้งชื่อให้กับมันว่า about.blade.php
ต่อมาลองเขียนข้อความอะไรสักอย่าง ลงใน File about.blade.php
จากนั้นให้กลับไปที่ File web.php ให้ทำการเพิ่มก้อน Route ไปอีกหนึ่งตัวตามภาพ
จากนั้นลองทดสอบโดยการ รันไฟล์ laravel บน Browser แล้วตามด้วย public/about ดูครับ
ต่อมาเราจะมาเรียนรู้การส่งค่า ผ่าน Route กัน การส่งค่าผ่าน Route มีอยู่หลายประเภทครับ ในที่นี้เราจะยกมา 4 ตัวที่ใช้กัน บ่อยๆ
Route::get ใช้ทำงานแบบเรียกใช้ปกติหรือถ้ามีการส่งค่า จะเป็นการส่งค่าผ่าน URL
Route::post ใช้ส่งค่าแบบปกติหรือถ้าเราเห็นบ่อยคือจะใช้กับ From
Route::put ใช้เมื่อเราจะส่งข้อมูลไป update หรือ แก้ไขข้อมล
Route::delete จะใช้เมื่อเราต้องการลบ ข้อมูลครับ
cradit: http://www.comscicafe.com/article/253/laravel-57-lesson-05#.XQDCCZIzatE