Post by Goborijung at 2018-12-24 14:20:00 | ID: 52
01. Hello World เราสามารถเขียน จาวา ให้มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก Graphics User Interface(GUI) โดยเรียกใช้คลาสในกุ่มที่มีชื่ว่า Swing คลาสในกลุ่มนี้มีชื่อขึ้นด้วยตัว J เช่น JButton, JMenu เป็นต้น แต่ถ้าเราใช้โปรแกรม NetBeans IDE เราก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเองเป็นต้น เพราะ NetBeans ได้เตรียมเครื่องมือมาให้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะขอกล่าวถึงชุดพัฒนาโปรแกรมจาวา (JDK) และการติดตั้ง NetBeans JDK (Java Development Kit) ในการเขียนโปรแกรมจาวา เราต้องมีชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวา Java Development Kit (JDK) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก (http://java.sun.com) JDK ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ » จาวาคอมไพเลอร์ (Java compiler) คือตัวแปลภาษา javac ซึ่งทำหน้าที่แปลงไฟล์นามสกุล .java ให้เป็นไฟล์นามสกุล .class » จาวารันไทม์ (Java Runtime) สามารถนำไฟล์ .class ไปรันได้ ตัวอย่างเช่น เราเขียนโปรแกรม HelloWorld.java การคอมไพล์จาวา จะใช้คำสั่ง javac HelloWorld.java ซึ่งถ้าคอมไพล์ผ่าน จะได้ไฟล์ชื่อ HelloWorld.class ซึ่งสามารถนำมารันได้โดยใช้คำสั่ง java HelloWorld เป็นต้น NetBeans IDE เราสามารถใช้ text editor ตัวไหนก็ได้เพื่อเขียน java (source code) แต่ในที่นี้จะใช้โปรแกรม NetBeans IDE เพราะ NetBeans เป็นเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ เครื่องมือนี้เรียกว่า Integrated Development Environment (IDE) NetBeans IDE เป็นเครื่อมมือ ที่จะช่วยให้เราพัฒนาโปรแกรมได้เร็วขึ้น » มันมีปุ่มกดที่ toolbar ให้คอมไพล์และรันโปรแกรมได้ » การเขียนกราฟิก (GUI) ใช้แค่การลากวาง ไม่ต้องเขียนโค้ด » พิมพ์แค่คำย่อ แล้วโปรแกรมมันช่วยขยายต่อให้ได้ » พิมพ์แค่โค้ดบางส่วน แต่ NetBeans ช่วยเติมโค้ดที่เหลือให้ได้ » จัดระเบียบโค้ดได้ ช่วยให้การอ่านโค้ดได้ง่ายขึ้น » ฯลฯ การติดตั้งโปรแกรม NetBeans เราสามารถโหลด NetBeans ได้ที่ (https://netbeans.org) เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก็ให้ติดตั้งให้เรียบร้อย และเมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะมาสร้างโปรแกรมแรกกัน (อย่าลืมติดตั้งตัว JDK อีกตัวนะครับ) เริ่มต้นกับโปรแกรมแรก HelloWorld การเขียนโปรแกรมโดยใช้ NetBeans เริ่มต้นที่การสร้างโปรเจ็คใหม่ การสร้างโปรเจ็คใหม่ » (1)เลือกเมนู File>New Project (2)เลือกประเภทโปรเจ็คเป็น Java (3)เลือก Java Application (4)คลิก Next (5)ตั้งชื่อโปรเจ็คให้เรียบร้อย (6)ตำแหน่ง Project Location คือโฟลเดอร์ทีใช้จัดเก็บโปรเจ็คของเรา สามารถเปลี่ยนที่จัดเก็บได้ (7)เอาเครื่องหมายถูกที่ Create Main Class ออกไป เพราะเราจะสร้างเอง (8)คลิก Finish เป็นอันเรียบร้อยครับ
Post by Goborijung at 2018-12-24 14:24:59 | ID: 55
Part 1 Part 2 Part 3
Post by Goborijung at 2018-12-24 14:21:46 | ID: 53
http://www.thaicreate.com/java/java-gui-jframe-title-maximum-change-icon.html
Post by Goborijung at 2018-12-24 14:18:01 | ID: 51
01. Hello World (Label and Frame) JDK NetBeans IDE สร้างโปรเจ็คใหม่ สร้างเฟรมใหม่ 02. Hello Khun (Button and Text Field) พร็พเพอร์ตีและอีเวนท์ (Property and Event) คำย่อ ไดอะล็อกข้อความ (Message Dialog) การเติมโค้ด (Code Completion) 03. แปลงองศา C เป็น F 04. ตัวนับ คลาส Counter ใช้คลาส Counter ในโหมดตัวอักษร ใช้คลาส Counter ในโหมดกราฟิก จัดระเบียบโค้ด สร้าง Getter และ Setter 05. นับขึ้น-ลง (Check Box) เปลี่ยนชื่อคอมโพเนนท์ ดีบั๊ก (Debug) 06. กขคง (Radio Button) 07. นาย นาง นางสาว (Combo Box) 08. รายชื่อ (List) ตรวจดูค่าของตัวแปร 09. เพิ่ม-ลบในรายชื่อ (List) โมเดล แก้ไขการอิมพอร์ท 10. ชื่อ-สกุล (Table) 11. ชื่อ-สกุล 2 (dialog) ไดอะล็อกรับข้อความ Regular Expression สร้างไดอะล็อกใช้เอง 12. เมนู (Menu) ไดอะล็อกยืนยัน (Confirm Dialog) ไดอะล็อกเลือกไฟล์ (File Chooser Dialog) 13. ปุ่มมือถือ (Penel and Layouts) เลย์เอาท์ (Layout) หลีกเลี่ยงโค้ดซ้ำซ้อน 14. ปุ่มมือถือบนเว็บเพจ (Applet) แจกจ่ายโปรแกรม สร้างแอพเพล็ท 15. โครงงานสมุดโทรศัพท์ บรรณานุกรม
Post by Goborijung at 2018-12-24 14:23:35 | ID: 54
Java GUI เขียนข้อมูลลงไฟล์ ด้วย NetBeans Java GUI อ่านไฟล์ด้วย NetBeans Java GUI โปรแกรมบันทึกข้อมูลลงทะเบียนลงไฟล์ Part 1 Java GUI โปรแกรมบันทึกข้อมูลลงทะเบียนลงไฟล์ Part 2